หลายคนเข้าใจผิดว่าไฟฉุกเฉินคล้ายกับเบรกเกอร์ จริงๆ แล้วไฟฉุกเฉินหลักการทำงานคล้ายกับ ups หรือเครื่องสำรองไฟของคอมพิวเตอร์มากกว่า ซึ่งมันมีประโยชน์มากจริงๆ หากว่าเกิดไฟฟ้าดับ แน่นอนว่าไฟก็จะไม่ติดแต่ว่าเราก็ยังเกิดแสงสว่างให้มองทางกันได้ต่อไป แค่นั้นเอง คือจุดประสงค์หลักของไฟฉุกเฉินและป้ายไฟทางออกในโรงภาพยนตร์ก็จัดว่าเป็นไฟฉุกเฉินประเภทหนึ่งเพราะว่าเมื่อไฟดับ มันก็จะยังสว่างอยู่มีทั้งสีเขียวสีแดง หรือสีอะไรก็ได้ ตามแต่แสงสีของ LED มากกว่า ถามว่าคนอยู่ตามบ้านจะซื้อมาติดเองได้ไหม ก็ได้เหมือนกันเพราะว่าเขามีขายทางเว็บไซต์และมีการรับประกันอุปกรณ์ได้ด้วย โดยบ้านที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็สามารถซื้อเครื่องกำเนิดไฟฉุกเฉินมาติดตั้งเองก็ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่จำเป็นท่าไหร่นัก และมันก็มีแบตเตอรี่ในตัวเอง เราควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินเมื่อไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ไม่ว่าท่านจะมีการเชื่อมต่อแบบเครื่องเดียว หรือต่อแบบที่ซับซ้อนหลายๆเครื่อง เราควรจะมีการตรวจสอบการใช้งานว่ามันสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ปีละครั้งก็เพียงพอแล้ว อีกประเด็นที่ควรพิจารณาคืออุณหภูมิของแบตเตอรี่ที่เป็นปัญหา แบตเตอรี่ที่ใช้ในไฟฉุกเฉินมีหลายประเภท มีความทนต่ออุณหภูมิที่แตกต่างกัน แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินควรมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 4 ปีอย่างไรก็ตามในบางกรณีแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าปกติ ทั้งนี้เมื่อท่านซื้อมาติดตั้งควรจะดูใบรับประกันว่ามีอย่างชัดเจนหรือไม่ หากว่าเสียเราจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อมโดยใช่เหตุ
M | T | W | T | F | S | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |